Return to ข้อมูลทั่วไป

ความเป็นมาของโครงการ

โครงการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
โดย รศ.เสารรัตน์ ภัทรฐิตินันท์
เมื่อเอ่ยถึง ผู้มีความสามารถพิเศษท่านผู้อ่านคิดถึงใคร?
เมื่อ เอ่ยถึง ผู้มีความสามารถพิเศษ หลายคน คิดถึงผู้ที่มีชื่อเสียง ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ศิลปิน นักแสดง นักวิทยาศาสตร์ นักเขียน นักพากย์ นักกีฬา นักการเมือง นักขาย นักจัดรายการ ผู้นำในบรษัท ฯลฯ ที่มีชื่อเสียง เหตุที่หลายคนนึกถึงบุคคลดังกล่าว เพราะคนเหล่านั้นต่างได้สร้างผลงานที่ตนเองมีความสามารถ ความถนัดออกสู่สังคมอย่างโดดเด่นจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็น คนเก่ง  คนเก่งที่มีชื่อเสียงดังกล่าวมักจะเป็นคนเก่งที่ สร้างสรรค์สิ่งดีงามแก่สังคม จนได้รับการยกย่องโดยทั่วไป
โรงเรียน ในแต่ละประเทศอาจให้นิยามหรือเรียกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทของโรงเรียนนั้น ๆ  แต่จะมีคุณสมบัติร่วมกันอย่างหนึ่งคือเป็นผู้ที่มีผลงานซึ่งมีคุณภาพโดด เด่น สำหรับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ได้กำหนดนิยามของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ไว้ดังนี้
“นัก เรียนที่มีความสามารถพิเศษ หมายถึง นักเรียนที่มีความสามารถโดดเด่น สร้างผลงานที่มีคุณภาพสูง และต้องการโปรแกรมการศึกษาเพิ่มเติมจากการเรียนปกติ เพื่อให้ตระหนักรู้ที่จะพัฒนาตนเองและสร้างประโยชน์แก่สังคม”
เราจะพิจารณาว่า นักเรียนคนใดมีความสามารถพิเศษ ได้อย่างไร?
ในการพิจารณาว่านักเรียนคนใดมีความสามารถพิเศษ อาจพิจารณาจากข้อมูลของนักเรียน ดังต่อไปนี้
1.  มีความสามารถทางสติปัญญาสูง
2.  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีผลสอบระดับชาติ (NT /O-NET)  สูงและหรือได้รับการคัดเลือก/รางวัลจากการประกวดหรือการแข่งขัน
3.  มีความสามารถเฉพาะด้านโดดเด่น
4.  มีผลผลิต/ชิ้นงานที่มีลักษณะโดดเด่นกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
5.  มีคุณลักษณะ ที่เป็นผู้นำ คิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์  มีความมุ่งมั่นและมีความสามารถในการแก้ปัญหา
ทำอย่างไร ประเทศชาติของ เราจึงจะมี  คนเก่ง ที่สร้างสรรค์มากๆ?
คน ที่พร้อมจะเก่ง บางคนไม่สามารถที่จะเป็นคนเก่งที่สร้างสรรค์ได้  ถ้าเขาไม่มีโอกาสพัฒนาความสามารถพิเศษที่มีอยู่ในตัวเขาให้เต็มที่ในเส้น ทางที่ถูกต้องเหมาะสมหรือได้รับการพัฒนาช้าเกินไป ช่วงชีวิตวัยเด็กเป็นโอกาสทองของการพัฒนาคุณธรรม  จริยธรรมและความสามารถที่แฝงอยู่ในตัวให้พร้อมที่จะต่อยอดความรู้ความ สามารถในระดับสูง  ยิ่งสามารถค้นพบความสามารถพิเศษของเด็กได้เร็วเท่าใด  ก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาให้เด็กก้าวสู่ความเป็นเลิศและสร้างผลผลิตที่ เป็นคุณต่อสังคมได้มากขึ้นเท่านั้น ในช่วงที่เด็กเป็นนักเรียน โรงเรียน และ บ้าน เป็นหน่วยที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการวางรากฐานที่มั่นคง  ช่วยพัฒนาและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตระหนักรู้หรือค้นพบว่านักเรียนมีความ สามารถพิเศษด้านใด และทั้งสองหน่วยนี้จะทำหน้าที่หลักในการสนับสนุนให้นักเรียนได้เรียนรู้  ฝึกฝนอย่างมุ่งมั่นจนมีศักยภาพเต็มเปี่ยมและแสดงความสามารถให้ปรากฏในวง กว้างก่อประโยชน์ต่อสังคมจนเป็นที่ยอมรับในอนาคต
นัก เรียนที่มีความสามารถพิเศษบางคน อาจมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีเด่นแต่บางคนอาจได้ชื่อว่าเรียนไม่เก่งเลยก็ ได้เพราะการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีหลายองค์ประกอบ  บางองค์ประกอบนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษไม่สามารถปฏิบัติให้สอดคล้องกับ วิธีการประเมินได้  ในบางครั้งเราอาจพบว่านักเรียนบางคนที่ถูกลงความเห็นว่ามีความประพฤติไม่ เหมาะสม  ก้าวร้าว  ไม่มีสมาธิ  กลับเป็นผู้มีความสามารถพิเศษในบางด้านก็มี  หน้าที่ของโรงเรียนและบ้านคืออบรมสั่งสอนให้นักเรียนกลุ่มนี้เปลี่ยน พฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสมควบคู่ไปกับการพัฒนาความสามารถที่ซ่อนอยู่ภายใน ให้ปรากฏออกมาอย่างชัดเจน
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะดำเนินโครงการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษอย่างไร?
ใน ปีการศึกษา 2551 ที่ผ่านมาอาจารย์ใหญ่  รศ.ดร.ดารณี  อุทัยรัตนกิจ  ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษของ โรงเรียนขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นแกนนำในการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มี ความสามารถพิเศษของโรงเรียน พร้อมทั้งได้สนับสนุนให้คณะกรรมการได้ไปฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการศึกษา สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ  ที่  University  of  Northern  Colorado, USA. และศึกษาดูงานที่  University  School, Aurola  School, Excel  Academy Charter  School , Greely  West  High  School, Brentwood  Middle  School, Jackson  Elementary School เป็นเวลาประมาณ  2  สัปดาห์ อันส่งผลให้คณะกรรมการได้มีโอกาสขยายฐานความรู้เกี่ยวกับการจำแนกประเภทนัก เรียนที่มีความสามารถพิเศษ คุณลักษณะของนักเรียน รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทำ ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการอย่างมาก
ใน ปีการศึกษา 2552 นี้ โรงเรียนได้เริ่มโครงการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษอย่างเป็น รูปธรรม  โดยในช่วงแรกของการดำเนินการ  โรงเรียนได้สรรหากลุ่มนักเรียนที่จะให้เข้าร่วมโครงการ  โดยกำหนดแนวทางในการดำเนินงานดังนี้
1. เมื่อเสร็จสิ้นการประเมินผลการเรียนรู้ภาคปลาย ปีการศึกษา 2551 อาจารย์ผู้สอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เสนอชื่อนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมาก หรือมีความสามารถโดดเด่นเฉพาะด้านตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติขั้นต้นแก่นักเรียนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์
3. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติขั้นต้นแก่ผู้ปกครองของนักเรียนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์
4. นักเรียนที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการและได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง เข้ารับการทดสอบความสามารถทางสติปัญญา (IQ – Test)  โดยอาจารย์จากศูนย์บริการจิตวิทยาและแนะแนว
5. ผู้ปกครองและอาจารย์ผู้สอนนักเรียนตามข้อ 4 ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมที่แสดงความสามารถด้านต่าง ๆ ของนักเรียน
6. โรงเรียนประมวลข้อมูล  ข้อ 4  และข้อ 5
7. ประกาศรายชื่อนักเรียนที่ผ่านการพิจารณาเข้าร่วมโครงการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
8.  นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการพัฒนาความสามารถพิเศษที่มีอยู่ในตัว นักเรียน  โดยนักเรียนจะได้รับความรู้   ร่วมทำกิจกรรมพิเศษ  หรือทำงานร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เหมาะกับความ สามารถของนักเรียน
โรงเรียน หวังว่าโครงการนี้จะช่วยพัฒนานักเรียนได้ตรงตามความสามารถที่แท้จริงของนัก เรียนและช่วยให้นักเรียนได้ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของความสามารถของตนเอง และใช้ความสามารถนั้นสร้างผลงานที่ภาคภูมิใจและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ในอนาคต
โรงเรียน และบ้าน คือองค์กรหลัก  
ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนา นักเรียน
ให้เป็น คนดี ที่ มีความสามารถเป็นเลิศ ก้าวสู่การเป็นสมาชิกที่ดียิ่ง
ของ ครอบครัวและ โรงเรียนเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ
เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา ประเทศ
และเป็นพลโลกผู้สร้างสรรค์สิ่งดีงามต่อ  มวลมนุษยชาติ