ข้อมูลทั่วไป

ความเป็นมาของโครงการ

โครงการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ โดย รศ.เสารรัตน์ ภัทรฐิตินันท์ เมื่อเอ่ยถึง ผู้มีความสามารถพิเศษท่านผู้อ่านคิดถึงใคร? เมื่อ เอ่ยถึง ผู้มีความสามารถพิเศษ หลายคน คิดถึงผู้ที่มีชื่อเสียง ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ศิลปิน นักแสดง นักวิทยาศาสตร์ นักเขียน นักพากย์ นักกีฬา นักการเมือง นักขาย นักจัดรายการ ผู้นำในบรษัท ฯลฯ ที่มีชื่อเสียง เหตุที่หลายคนนึกถึงบุคคลดังกล่าว เพราะคนเหล่านั้นต่างได้สร้างผลงานที่ตนเองมีความสามารถ ความถนัดออกสู่สังคมอย่างโดดเด่นจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็น คนเก่ง  คนเก่งที่มีชื่อเสียงดังกล่าวมักจะเป็นคนเก่งที่ สร้างสรรค์สิ่งดีงามแก่สังคม จนได้รับการยกย่องโดยทั่วไป โรงเรียน ในแต่ละประเทศอาจให้นิยามหรือเรียกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทของโรงเรียนนั้น ๆ  แต่จะมีคุณสมบัติร่วมกันอย่างหนึ่งคือเป็นผู้ที่มีผลงานซึ่งมีคุณภาพโดด เด่น สำหรับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ได้กำหนดนิยามของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ไว้ดังนี้ “นัก เรียนที่มีความสามารถพิเศษ หมายถึง นักเรียนที่มีความสามารถโดดเด่น สร้างผลงานที่มีคุณภาพสูง และต้องการโปรแกรมการศึกษาเพิ่มเติมจากการเรียนปกติ เพื่อให้ตระหนักรู้ที่จะพัฒนาตนเองและสร้างประโยชน์แก่สังคม” เราจะพิจารณาว่า นักเรียนคนใดมีความสามารถพิเศษ ได้อย่างไร? ในการพิจารณาว่านักเรียนคนใดมีความสามารถพิเศษ อาจพิจารณาจากข้อมูลของนักเรียน ดังต่อไปนี้ 1.  …

คุณลักษณะเด็ก Gifted

โครงการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ (2) โดย รศ.เสารรัตน์  ภัทรฐิตินันท์ และ ผศ.ดร.ศศิธร จ่างภากร ตามที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เริ่มจัดโครงการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในปีการศึกษา 2552  นั้น  บัดนี้  กระบวนการคัดเลือกนักเรียนเข้าร่วมโครงการได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว  และโรงเรียนใคร่ขอเรียนให้ทุกท่านทราบว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าโครงการในระยะแรกนี้  นับว่าเป็นนักเรียนที่มีความสามารถสูงซึ่งมีศักยภาพที่จะสามารถพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดีเช่นกัน  แต่เนื่องจากในการดำเนินการคัดเลือกนั้น  ถึงแม้โรงเรียนจะพยายามกำหนดวิธีการต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการเพียงใด    แต่ด้วยความจำกัดบางประการ ทำให้โรงเรียนจำเป็นต้องใช้เกณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดเลือกนักเรียนเพียงกลุ่มหนึ่ง  ณ ช่วงเวลานี้ ให้เข้าร่วมโครงการก่อน สำหรับนักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการในปีการศึกษานี้  ยังคงมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ที่โรงเรียนจัดให้  ซึ่งจะทำให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพเช่นเดียวกัน ฉบับนี้  ผู้เขียน  ขอเสนอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ  ซึ่งผู้ปกครองอาจใช้ประกอบการสังเกตคุณลักษณะ  ลูก – หลานของท่าน เพื่อจะได้ส่งเสริมหรือพัฒนานักเรียนร่วมกับโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง Professor Dr.George Betts ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเด็กที่มีความสามารถพิเศษ จาก University  of  Northern Coloradoได้กล่าวถึงคุณลักษณะ 12  ประการของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ  จากเอกสารของ The National Research Center on Gifted …

การดำเนินงาน

โครงการเติมเต็มศักยภาพของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ (Enrichment  Program  for  Gifted  and  Talented  Students) โดย  รศ.เสารรัตน์  ภัทรฐิตินันท์   ผศ.ดร.ศศิธร  จ่างภากร  อาจารย์คมกริช  แม่นยำ ตาม ที่โรงเรียนได้ดำเนินการคัดเลือกนักเรียนกลุ่มหนึ่งซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และมีความยินดีที่จะเข้าร่วม โครงการเติมเต็มศักยภาพของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ มาทำกิจกรรมตามที่คณะกรรมการได้ออกแบบไว้นั้น   ในปีการศึกษานี้  มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการรวม  225  คนประกอบด้วยนักเรียนระดับประถมศึกษา  137  คน  นักเรียนระดับมัธยมศึกษา  88  คน    นักเรียนกลุ่มดังกล่าวได้เข้าทำกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มเปิดเรียนภาคปลาย ปีการศึกษา  2552  เป็นต้นไป  โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษามี ความแตกต่างกัน  ดังนี้ระดับประถมศึกษา การจัดกิจกรรมในระดับประถม ศึกษานั้นได้แบ่งกิจกรรมออกเป็นวิชาต่างๆ เนื่องจากคณะกรรมการได้เล็งเห็นว่านักเรียนในระดับประถมศึกษาควรได้รับการ พัฒนาตามความสามารถและความถนัดของแต่ละบุคคล ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนมีพื้นฐานในวิชาต่าง ๆ  มากเพียงพอต่อการศึกษาในเชิงลึกต่อไป รายวิชาที่จัดมีทั้งสิ้น 5 วิชา คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ทัศนศิลป์ และคอมพิวเตอร์     การจัดกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์  …

รูปแบบการจัดกิจกรรม

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา โครงการเติมเต็มศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ  รูปแบบการพัฒนานักเรียนในโครงการเติมเต็มศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ปีการศึกษา 2560  การพัฒนานักเรียนในโครงการเติมเต็มศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ  เน้นกระบวนการคิดและทำงานโดยมุ่งให้ได้ชิ้นงาน ตามระดับความสามารถ ไม่สอนเนื้อหาที่เกินระดับชั้นที่เรียนอยู่ มีรูปแบบการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. ประถมศึกษาปีที่ 4-6 –  แยก 3 วิชา  คือ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  และภาษาอังกฤษ –  คณิตศาสตร์  สอนวันธรรมดา ระดับชั้นละ 1  วัน  เวลา 16.00 – 18.00 น.  รวม  22 ชั่วโมง –  วิทยาศาสตร์  สอนวันเสาร์    เวลา  9.00 – 12.00 น. รวม  36  ชั่วโมง –  ภาษาอังกฤษ ป.4 สอน โดยอาจารย์คนไทย  สอนวันเสาร์  เวลา 9.00 …