โครงการเติมเต็มศักยภาพของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
(Enrichment Program for Gifted and Talented Students)
โดย รศ.เสารรัตน์ ภัทรฐิตินันท์ ผศ.ดร.ศศิธร จ่างภากร อาจารย์คมกริช แม่นยำ
ตาม ที่โรงเรียนได้ดำเนินการคัดเลือกนักเรียนกลุ่มหนึ่งซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และมีความยินดีที่จะเข้าร่วม โครงการเติมเต็มศักยภาพของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ มาทำกิจกรรมตามที่คณะกรรมการได้ออกแบบไว้นั้น ในปีการศึกษานี้ มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการรวม 225 คนประกอบด้วยนักเรียนระดับประถมศึกษา 137 คน นักเรียนระดับมัธยมศึกษา 88 คน นักเรียนกลุ่มดังกล่าวได้เข้าทำกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มเปิดเรียนภาคปลาย ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษามี ความแตกต่างกัน ดังนี้ระดับประถมศึกษา
การจัดกิจกรรมในระดับประถม ศึกษานั้นได้แบ่งกิจกรรมออกเป็นวิชาต่างๆ เนื่องจากคณะกรรมการได้เล็งเห็นว่านักเรียนในระดับประถมศึกษาควรได้รับการ พัฒนาตามความสามารถและความถนัดของแต่ละบุคคล ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนมีพื้นฐานในวิชาต่าง ๆ มากเพียงพอต่อการศึกษาในเชิงลึกต่อไป
รายวิชาที่จัดมีทั้งสิ้น 5 วิชา คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ทัศนศิลป์ และคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ทัศนศิลป์ และคอมพิวเตอร์ใช้เวลาหลังเลิกเรียนส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ ใช้เวลาวันเสาร์ เนื้อหาหลักในทุกกลุ่มวิชาเน้นทางด้านทักษะการคิด เช่น วิชาคณิตศาสตร์ เน้นให้นักเรียนทำกิจกรรมเสริมทักษะการคิด วิชาวิทยาศาสตร์ เป็นการเรียนรู้โดยการทำโครงงาน วิชาภาษาอังกฤษ เน้นทางด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิด มีการฝึกการใช้โปรแกรม Reading Companion และ ฝึกการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสืบค้นข้อมูลทางภาษา วิชาทัศนศิลป์ มีการฝึกนักเรียนในทักษะต่างๆ เช่น การเขียนภาพหุ่นนิ่ง การผสมสี การใช้สีโปสเตอร์ การจัดองค์ประกอบภาพ การเขียนภาพสีน้ำและภาพทิวทัศน์ ส่วนวิชาสุดท้ายคือคอมพิวเตอร์ เน้นให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าในและเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการใช้ คอมพิวเตอร์ โดยจะมีการให้ความรู้เรื่อง Web 2.0 และการสร้าง Blog ระบบเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต การตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมประยุกต์ การทำภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น ในทุกกลุ่มวิชานักเรียนจะได้มีโอกาสในการนำเสนอผลงานในช่วงท้ายของการจัด กิจกรรม
นอกจากการฝึกกิจกรรมในช่วงหลังเลิกเรียนหรือในวันเสาร์ตาม กำหนดเวลาของแต่ละกิจกรรมแล้ว ในวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และ คอมพิวเตอร์ จะมีการเข้าค่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการปิดภาคเรียนด้วย ระดับมัธยมศึกษา
สำหรับกิจกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษานั้น ไม่ใช้การจัดกิจกรรมแยกเป็นรายวิชาและแยกระดับชั้นเหมือนระดับประถมศึกษา เนื่องจากนักเรียนมีพื้นฐานความรู้และทักษะของรายวิชาต่าง ๆ ดีพอสมควรแล้ว รูปแบบกิจกรรมจึงเน้นการฝึกกระบวนการคิดเป็นหลักโดยฝึกนักเรียนร่วมกัน ตั้งแต่ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1- 5 ในวันเสาร์ วันละ 3 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงให้นักเรียนสร้างงานตามความถนัดและความสนใจ ดังรายการกิจกรรมโดยสรุป ต่อไปนี้
ครั้งที่ 1
เนื้อหา / ลักษณะกิจกรรม
– กิจกรรม จับกลุ่ม เป่ายิ้งฉุบ นักสืบ บิงโก กระซิบ วัจนภาษา แก้ปัญหาพาสนุก
จุดประสงค์ในการฝึก
– ความสามารถในการคิด การวางแผน การแก้ปัญหา การสื่อสาร การแปลความ ความซื่อสัตย์และการทำงานเป็นทีม
ครั้งที่ 2
เนื้อหา / ลักษณะกิจกรรม
– การทำงานอย่างเป็นระบบ
– กิจกรรม คิดเป็น ทำเป็น
จุดประสงค์ในการฝึก
– ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
– การคิดสร้างสรรค์
– การทำงานอย่างเป็นระบบ
ครั้งที่ 3
เนื้อหา / ลักษณะกิจกรรม
– การใช้โปรแกรม Scratch ในการสร้างงานตามจินตนาการของตนเอง การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (social network) การทดลองใช้เครือข่ายการเรียนรู้ของนักเรียนที่เข้าโครงการ คือ http://kusgifted.ning.com
จุดประสงค์ในการฝึก
– ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร สืบค้นและสร้างงาน
– การสร้างจินตนาการ
ครั้งที่ 4
เนื้อหา / ลักษณะกิจกรรม
– การศึกษาแนวคิด การพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน ( วิทยากรคือ นายจักราวุธ แสวงผล สถาปนิกผู้ผันตัวเองมาเป็นนักแต่งเพลงของบริษัทจีเอ็ม เอ็ม แกรมมี จำกัด (มหาชน) นายอนุรัตน์ โค้วคาสัย นักการตลาดของบริษัทพรานทะเล มาร์เก็ตติ้ง จำกัด นายอารีเฟน ฮะซานี จาก เฟนสตูดิโอ นักเขียนการ์ตูนของสำนักพิมพ์บันลือสาส์น )
จุดประสงค์ในการฝึก
– การรู้จักสร้างแรงบันดาลใจจากการวิเคราะห์แนวคิดและลักษณะการทำงานของผู้ประสบความสำเร็จ
– การรู้จักสร้างผลงานจากการมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัว
– การคิดนอกกรอบ
ครั้งที่ 5
เนื้อหา / ลักษณะกิจกรรม
– การทัศนศึกษาบริษัท ซี พี เอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด
จุดประสงค์ในการฝึก
– การคิดวิเคราะห์
– การสร้างแรงบันดาลใจจากประสบการณ์
ครั้งที่ 6
เนื้อหา / ลักษณะกิจกรรม
– การฝึกคิด โดยใช้เทคนิค หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ(Six thinking hats) ของ Dr.Edward De Bono
– การคิดนอกกรอบ
จุดประสงค์ในการฝึก
– การคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ
– การใช้ความคิดนอกกรอบในการแก้ปัญหา
ครั้งที่ 7
เนื้อหา / ลักษณะกิจกรรม
– กิจกรรมค้นหาตัวตน จากการเข้าฐานกิจกรรม 5 ฐาน ได้แก่ ฐานคอมพิวเตอร์ ฐานวิทยาศาสตร์ ฐานศิลปะ ฐานคณิตศาสตร์ และฐานภาษา
จุดประสงค์ในการฝึก
– การวิเคราะห์ความสามารถ ความชอบและความถนัดของตนเอง
ครั้งที่ 8 – 9
เนื้อหา / ลักษณะกิจกรรม
– การศึกษาตัวอย่างผลงานของผู้อื่น
– กิจกรรม I think I can ( สร้างงานของตนเอง )
จุดประสงค์ในการฝึก
– การจินตนาการเพื่อสร้างงานตามความถนัดและความสนใจของตนเอง
– การวิพากษ์แนวคิดของผู้อื่นอย่างกัลยาณมิตร
ครั้งที่ 10
เนื้อหา / ลักษณะกิจกรรม
– การนำเสนอแผนการสร้างงานของตนเอง
– นักเรียนเสนอความต้องการวิทยากรผู้เชี่ยวชาญหรือแหล่งความรู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานนักเรียนต้องการทำ
จุดประสงค์ในการฝึก
– การวางแผนการทำงาน
– ความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างไม่ย่อท้อ
หลัง จากเสร็จสิ้นการทำกิจกรรมตามตารางข้างต้นนักเรียนจะทำงานตามแผนที่ตนเองวาง ไว้อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสำเร็จ โดยอาจารย์จะช่วยติดต่อผู้เชี่ยวชาญ หรือแหล่งเรียนรู้ตามที่นักเรียนแจ้งความประสงค์ไว้ ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป โรงเรียนจะจัดหาสถานที่ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์บางอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์ หนังสือเฉพาะทาง สำหรับให้นักเรียนทำงานหรือค้นคว้าเพิ่มเติมในช่วงเลิกเรียนหรือวันหยุด